30 พ.ค. 2556

ประสบการณ์ด้านงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่


usarat
ดร.อุษารัตน์ คำทับทิม
"ในมุมมองของนักวิจัยรุ่นใหม่ งานวิจัยที่ดีควรเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้งานได้จริงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน การแพทย์ หรือการพัฒนาทางด้านการเกษตร ซึ่งการได้มาของงานวิจัยที่ดีย่อมเกิดมาจากองค์ประกอบสำคัญหลายส่วน เช่น หัวข้อของงานวิจัย ผลที่คาดว่าจะได้รับหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากงานวิจัยนั้นๆ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่จะทำให้งานวิจัยเหล่านั้นเกิดการขับเคลื่อนซึ่งได้แก่ แหล่งทุนสนับสนุน ความพร้อมของห้องปฏิบัติการ หน่วยงานที่ทำงานวิจัยร่วมกัน ตลอดจนความรู้ความสามารถของผู้ทำงานวิจัย ถ้าองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ครบถ้วนสมบูรณ์ งานวิจัยที่ดีย่อมสำเร็จและเกิดขึ้นอย่างแน่นอน"
Dr. habil. J. Sabine Becker

        ในประสบการณ์ด้านงานวิจัย ได้เคยมีโอกาสที่ดีที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับ Dr. habil. J. Sabine Becker ที่ Juelich research center ประเทศเยอรมัน ในหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างภาพสามมิติและการกระจายตัวของธาตุที่มีปริมาณน้อยในตัวอย่างชีวภาพ เช่น สมอง หัวใจ เลือด หรือเส้นผม โดยใช้เทคนิค LA-ICP-MS เพื่ออธิบายการกระจายตัวของธาตุในตัวอย่างชีวภาพซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะความผิดปกติของร่างกายหรือโรคบางโรคได้ ตลอดเวลาที่ทำงานวิจัยอยู่ที่เยอรมัน รู้สึกตื่นเต้นและสนุกกับงานมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักเคมีวิเคราะห์ที่จะสามารถใช้เทคนิค LA-ICP-MS ในการสร้างภาพสามมิติเพื่อดูการกระจายตัวของธาตุชนิดต่างๆในตัวอย่างชีวภาพ นับเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและมีความท้าทายมาก เพราะต้องใช้ความรู้หลายๆด้าน ทั้งทางด้านเคมี ชีววิทยาและการแพทย์ ในการวางแผนการทดลอง การเตรียมและวิเคราะห์ตัวอย่าง ตลอดจนการอธิบายผลการทดลอง นอกจากนี้ถ้าเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ห้องแลปของที่นี่จะมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย มีความพร้อมในการทำงานวิจัย การทำงานของห้องแลปจะมีการวางแผนงานที่ชัดเจนและเข้มงวดกับเรื่องของการตรงต่อเวลา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด เพราะการตรงต่อเวลาจะทำให้เราสามารถทำงานได้ตามกำหนด ส่งผลให้งานทุกอย่างสำเร็จภายในกรอบของเวลาที่เรากำหนดไว้เช่นกั
app2
รูปที่ 1 องค์ประกอบของ Laser Ablation Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometer (LA-ICP-MS)
อ้างอิงมาจาก  Günther D, Hattendorf B. Solid sample analysis using laser ablation inductively coupled plasma mass spectrometry. TrAC Trends in Analytical Chemistry. 2005;24(3):255-65.

app3
รูปที่ 2 การกระจายตัวของธาตุชนิดต่างๆ ในตัวอย่าง spinal cord
อ้างอิงมาจาก Mass spectrometry imaging (MSI) of metals in mouse spinal cord by laser ablation ICP-MS. Metallomics. 2012, 4, 284–288
                       
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
  1. Bioimaging of Metals and Biomolecules in Mouse Heart by Laser Ablation Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry and Secondary Ion Mass Spectrometry. Analytical Chemistry. 2010;82(22):9528-33.
  2. Biomonitoring for arsenic, toxic and essential metals in single hair stands by laser ablation inductively coupled plasma mass spectrometry. International Journal of Mass Spectrometry. 2011;307(1):185-191.
  3. Mass spectrometry imaging (MSI) of metals in mouse spinal cord by laser ablation ICP-MS. Metallomics. 2012, 4, 284–288
ขอขอบพระคุณแหล่งทุนและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
  • โครงการพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.)
  • BrainMet Laboratory, Central Division of Analytical Chemistry, Juelich Research Center, Germany
  • ภาควิชาเคมีวิเคราะห์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
IMG_4816 (Medium) app7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น