20 มิ.ย. 2557

เรื่องเล่าประสบการณ์การนำความรู้เผยแพร่สู่ชุมชนผ่านทางบริการวิชาการ

“โครงการส่งเสริมอาชีพในชุมชนด้วยการทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากธรรมชาติ”
จัดงานวันที่ 28 มีนาคม 2557 ณ โรงเรียนบ้านตะโกล่าง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 



โครงการส่งเสริมอาชีพในชุมชนด้วยการทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากธรรมชาติ ได้เริ่มต้นจากสาขาเคมีได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำความรู้ ประสบการณ์ทางด้านองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติหรือสรรพคุณของสารจากธรรมชาติ และเห็นถึงความสำคัญของพืชสมุนไพรของประเทศไทยที่มีอยู่มากมายหลายชนิดที่มีสรรพคุณและมีการปลูกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไปนั้น สามารถปลูกเพื่อเป็นการค้าได้ หรือใช้เป็นส่วนผสมหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรได้ จึงได้เกิดความร่วมมือกันของอาจารย์ และนักศึกษาสาขาเคมี ร่วมกันถ่ายทอดความรู้และวิธีการทำผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน

โดยให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สรรพคุณของพืชสมุนไพรบางชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำผลิตภัณฑ์ และได้ลงมือปฏิบัติลองทำผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้และนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้ ซึ่งพบว่าสามารถกระตุ้นให้ชุมชนมองเห็นถึงความสำคัญของพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นใกล้ตัวภายในชุมชนที่เห็นกันอยู่ทุก นำมาใช้ได้ไหม เป็นพืชสมุนไพรหรือไม่ มีประโยชน์อะไรบ้าง สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง โดยได้ข้อมูลจากการบอกกล่าว และการตั้งคำถามของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่นถามถึงวิธีการใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดสารจากไพล ต้นว่านนางคำมีลักษณะแบบไหนซึ่งพบว่าในชุมชนนี้มีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก




ผลิตภัณฑ์ที่อาจารย์ในสาขาเคมีได้นำไปให้ลองปฏิบัติกันมีดังนี้

  • Luffa soap (สบู่กลีเซอรีนใยบวบ) ที่มีใยบวบ อยู่รวมกับเนื้อสบู่กลีเซอรีนผสมน้ำมะขาม และน้ำผึ้ง


  • Anti aging lotion (โลชั่นลดริ้วรอย) ที่มีการผสมสารสกัดทับทิมและน้ำมันรำข้าว

  • สครับขัดผิวสมุนไพร ที่ประกอบด้วยผงว่านนางคำ ผงขมิ้น ไพลผง ทานาคาผง
  • สมุนไพรพอกบำรุงผิว (โคลนมาร์ค) มีส่วนผสมของ ดินสอพอง และสมุนไพร ว่านนางคำผง  ไพลผง บัวบกผง ใบแปะก๊วยผง กลีเซอรีน


  • ครีมทาผิวผสมสารสกัดสมุนไพร (RSAT-07) จากงานวิจัยพบว่าสารในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
  • น้ำมันนวดสมุนไพร มีส่วนผสมของน้ำมันพื้นฐาน เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดองุ่น และประยุกต์ใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดสารจากไพลมาเป็นส่วนผสม เพื่อใช้ในการนวดแบบสปา พร้อมกับรักษาอาการปวดเมื่อยได้ด้วย

ความรู้จะมีคุณค่าเมื่อได้รับการถ่ายทอดออกไปและผู้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

สุดท้ายนี้ต้องขอบอบคุณอาจารย์ และนักศึกษาสาขาเคมีทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการทำงานบริการวิชาการของสาขาให้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดมา


อาจารย์สาขาวิชาเคมี
10 เมษายน 2557